Hotels2thailand.com
Google
 

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553



สุริยุปราคาแบบบางส่วน , สุริยุปราคาแบบวงแหวน , งานมหกรรมสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 , องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ , สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ดาวน์โหลดไฟล์ทำรายงานได้ที่นี่

Hot Clips: Adult 18+ Links Clicks
http://2b8d26ce.linkbucks.com/

Hot TV: Adult 18+ TV Only
http://e4932bdb.linkbucks.com/

บันทึก Clips ถ่ายทอดสดปรากฏการณ์สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
http://92aea12a.linkbucks.com/

รายการสดออนไลน์
http://4fce2b9f.linkbucks.com

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
บ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 จะเกิดสุริยุปราคาซึ่งปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสสังเกตได้เพียงครั้งเดียว สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้มีเส้นทางคราสวงแหวนผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวน แต่อยู่ในเขตที่สามารถสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนได้โดยภาคเหนือเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด

วันที่เกิดสุริยุปราคาดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากเนื่องจากเป็นช่วงก่อนที่ดวงจันทร์จะอยู่ห่างโลกที่สุดไม่ถึง 2 วัน และหลังจากวันที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่ถึง 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดสุริยุปราคาวงแหวนยาวนานถึง 11 นาที 8 วินาที ที่กึ่งกลางคราส นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 3 (ค.ศ. 2001-3000) และเป็นครั้งเดียวที่นานกว่า 11 นาที (ครั้งถัดไปที่นานกว่า 11 นาที เกิดในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 3043)

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 เริ่มต้นในเวลา 11:05 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล (UT) 7 ชั่วโมง จังหวะนั้นเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในทวีปแอฟริกา เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 12:14 น. บริเวณตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ศูนย์กลางเงาสัมผัสผิวโลกตรงบริเวณใกล้กันในอีก 4 นาทีถัดมา ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 7 นาที 9 วินาที เงาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แล้วผ่านยูกันดา ซีกด้านเหนือของทะเลสาบวิกตอเรีย เคนยา ส่วนเล็ก ๆ ทางเหนือของแทนซาเนีย และทางใต้ของโซมาเลีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

เมืองบังกีในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 57 วินาที โดยดวงอาทิตย์มีมุมเงย 4 องศา กัมปาลาในยูกันดาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 38 วินาที ส่วนที่เมืองไนโรบีของเคนยาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 6 นาที 52 วินาที แนวคราสวงแหวนขณะอยู่ในมหาสมุทรเฉียดห่างขึ้นไปทางเหนือของเมืองวิกตอเรียในสาธารณรัฐเซเชลส์ซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

เงาคราสวงแหวนเปลี่ยนทิศทางโดยวกขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ กึ่งกลางคราสซึ่งเป็นจุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทร เกิดขึ้นในเวลา 14:07 น. นาน 11 นาที 8 วินาที จากนั้นพาดผ่านหมู่เกาะมัลดีฟส์ในเวลาประมาณ 14:26 น. เมืองมาเลเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานถึง 10 นาที 46 วินาที

เงาคราสวงแหวนแตะทางใต้ของอินเดียและทางตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกาในเวลา 14:40 - 15:00 น. เมืองจาฟนาของศรีลังกาซึ่งอยู่ใกล้แนวกึ่งกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 10 นาที 9 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 55 องศา

เงาคราสวงแหวนมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล ศูนย์กลางเงาแตะชายฝั่งพม่าในเวลาประมาณ 15:33 น. ตรงบริเวณเมืองซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่ ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 8 นาที 39 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 34 องศา ส่วนเล็ก ๆ ทางตอนล่างของบังกลาเทศกับอินเดียตะวันออกก็อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวนด้วย จากนั้นผ่านมัณฑะเลย์ เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 37 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 30 องศา

ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 15:41 น. เมืองใหญ่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวน ได้แก่ ฉงชิ่ง เจิ้งโจว และจี่หนาน ฉงชิ่งอยู่กลางคราสพอดี เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16 องศา เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 4 นาที 40 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 7 องศา ส่วนจี่หนาน มณฑลชานตง มีตำแหน่งใกล้ขอบเขตด้านเหนือของเส้นทางคราส ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 1 นาที 9 วินาที (อาจสั้นกว่านี้เนื่องจากผิวที่ไม่เรียบของดวงจันทร์) ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง 4 องศา

คราสวงแหวนไปสิ้นสุดบริเวณแหลมชานตงที่ยื่นออกสู่ทะเลเหลืองในเวลา 15:59 น. ที่กึ่งกลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 7 นาที 12 วินาที จากนั้นเงามัวของดวงจันทร์จะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17:08 น. ในประเทศจีน นับเป็นจุดสิ้นสุดของสุริยุปราคาในวันนี้

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออกของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับประเทศไทย บริเวณภูเก็ตเป็นจุดที่เริ่มเห็นสุริยุปราคาเป็นที่แรก ภาคเหนือตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ และเป็นจุดสุดท้ายที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน
Refer to

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น